วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

แผนการจัดประสบการณ์



            หน่วยหลัก   ธรรมชาติรอบตัว  หน่วยย่อย  ผีเสื้อ

แผนการจัดประสบการณ์ที่
เรื่อง วงจรชีวิตผีเสื้อ


1.  สาระสำคัญ  ผีเสื้อมีวงจรชีวิต  ผีเสื้อ  ไข่  หนอน  ดักแด้

2.  จุดประสงค์การเรียนรู้
        2.1 จุดประสงค์ปลายทาง เพื่อให้นักเรียนรู้เกี่ยวกับวงชีวิตของผีเสื้อ และสามารถนำไปใช้ใน 
                                                    ชีวิตประจำวันได้
        2.2 จุดประสงค์นำทาง
2.2.1 เพื่อให้เด็กสามารถปฏิบัติตามสัญญาณและข้อตกลงได้
2.2.2 เพื่อให้เด็กสามารถสร้างผลงานได้อย่างสร้างสรรค์และเสรี
2.2.3 เพื่อให้เด็กสามารถแสดงความคิดเห็น และตอบคำถาม เกี่ยวกับเรื่องที่สนทนาได้
2.2.4 เพื่อให้เด็กสามารถปรับตัวในการเล่นร่วมกับคนอื่นได้อย่างสนุกสนาน
2.2.5 เพื่อให้เด็กสามารถเล่นเกมที่กำหนดให้ได้

3.  สาระการเรียนรู้
        3.1   วงจรชีวิตผีเสื้อ
        3.2    ประสบการณ์สำคัญ
3.2.1 การเชื่อมโยงภาพ  ภาพถ่ายและรูปแบบต่าง ๆ กับสิ่งของหรือสถานที่จริง
3.2.2 การเลียนแบบการกระทำและเสียงต่าง ๆ
3.2.3 การสำรวจและอธิบายความเหมือน ความต่างของสิ่งต่าง ๆ
3.2.4 การอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ เหตุการณ์ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ



4.  กิจกรรมการเรียนรู้
       4.1  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ (20 นาที)
4.1.1 กิจกรรมพื้นฐาน ให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายไปทั่วบริเวณอย่างอิสระตามจังหวะ เมื่อได้ยิน
         สัญญาณหยุดให้หยุดเคลื่อนในท่านั้นทันที
4.1.2 ให้ทำท่าทางตามจินตนาการ  โดยฟังคำบรรยายจากครู ดังนี้
“หนอนหลายตัวคืบคลานไปกินใบไม้ กินช้าบ้าง กินเร็วบ้าง จนตัวมันอ้วนและมันก็นอน  พักนิ่งๆ ต่อมาร่างกายของมันก็เปลี่ยนแปลง มันเริ่มสร้างใยออกมาห่อหุ้มตัวเอง ต่อมา  มันค่อยๆ กลายเป็นผีเสื้อ กางปีกออกบินไปมา ดูดน้ำหวานจากดอกไม้ บินเตี้ย บินสูง  ขึ้นๆ แล้วบินไปที่ดอกไม้ ดูดน้ำหวาน แล้วอยู่นิ่งๆ
4.1.3 จากนั้นให้นักเรียนพักคลายกล้ามเนื้อในท่าที่สบาย


4.2  กิจกรรมสร้างสรรค์และกิจกรรมเสรี (60 นาที)
4.2.1 เด็กและครู ช่วยกันจัดโต๊ะเพื่อปฏิบัติกิจกรรมการวาดภาพด้วยสีเทียน เสร็จแล้วครู
         อธิบายขั้นตอนการปฏิบัติให้เด็กฟัง  แล้วให้ลงมือปฏิบัติตามความคิด และจินตนาการ
         ของตนเองอย่างอิสระ  โดยครูคอยให้คำแนะนำอยู่ห่าง ๆ
4.2.2 เมื่อเด็กคนใดที่ปฏิบัติกิจกรรมเสร็จ  ให้นำผลงานมาให้ครูดูพร้อมกับบอกชื่อผลงาน วิธี
         การทำ ให้ครูทราบด้วย ถ้าผลงานใดเหมาะสมน่าเก็บไว้ ควรแนะนำให้เด็กเก็บไว้ใน
         กล่องผลงานของเด็ก โดยครูเขียนชื่อเด็ก ชื่อผลงาน ความหมาย และวันเดือนปีที่ทำให้
         เด็กด้วย
4.2.3 เด็กที่ปฏิบัติกิจกรรมเสร็จแล้ว ให้เล่นตามมุมอย่างอิสระ รอเพื่อนๆ
4.2.4 เมื่อเด็กปฏิบัติกิจกรรมเสร็จทุกคนแล้ว  ครูแนะนำให้เด็กช่วยกันทำความสะอาดพื้นที่
         ปฏิบัติกิจกรรม และช่วยกันเก็บสิ่งของต่างๆ เข้าทีให้เรียบร้อย


    4.3  กิจกรรมเสริมประสบการณ์  (15 นาที)
4.3.1  ครูนำนักเรียนดูบริเวณหน้าห้องเรียนซึ่งมีผีเสื้อมาไข่กลายเป็นดักแด้ ให้นักเรียนดู ด้วย
          แว่นขยายร่วมกันเลี้ยงหนอน และให้นักเรียนบันทึกการเจริญเติบโต ของตัวหนอนด้วย
          แว่นขยาย
4.3.2  นักเรียนและครูร่วมกันอ่านภาพสนทนา “ผีเสื้อแสนสวย”
4.3.3  ร่วมสนทนาเกี่ยวกับการเจริญเติบโต และการแพร่พันธุ์ของผีเสื้อ โดยมีลำดับขั้นตอน 
          ดังนี้ ผีเสื้อจะวางไข่บนใบไม้ใบหญ้า จากไข่จะเกิดเป็นหนอนเรียกว่า หนอนแก้วหุ้ม
          ห่อตัวหนอน อีกระยะหนึ่งประมาณ 5-7 วัน จากนั้นจะกลายเป็นผีเสื้อ
4.3.4  หาอาสาสมัครมาเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับผีเสื้อที่ได้เคยพบเห็นให้เพื่อนๆ ได้ซักถาม
          ตามความสนใจ
4.3.5  ให้นักเรียนคาดเดาว่าหนอนจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร จะกินอะไรเป็นอาหาร
4.3.6  นักเรียนและครูร่วมกนสรุปวงจรชีวิตผีเสื้อ ร่วมท่องภาพสนทนาและทำท่าทางอย่าง
          สนุกสนาน จากหนังสือภาพ “ผีเสื้อแสนสวย”



     4.4       กิจกรรมกลางแจ้ง (45 นาที)
4.4.1  ครูให้เด็กจัดแถวตอน  สองแถว จับมือกันเป็นคู่ ๆ ลงสนาม (เด็กที่ไม่มีคู่ให้จับมือกับครู)
          เมื่อถึงสนามแล้วให้เด็กอบอุ่นร่างกายโดยการวิ่งเหยาะ ๆ รอบ ๆ บริเวณ 2 – 3 นาที
4.4.2  แบ่งเด็กเป็นกลุ่มชาย หญิง หรือคละกันครูพานักเรียนออกไปที่สนาม แล้วให้นักเรียน
          สำรวจและอบอุ่นร่างกายอย่างอิสระ
4.4.3  ครูร้องเพลง “ดอกไม้สดสี” ให้นักเรียนฟัง แล้วให้นักเรียนร้องตามทีละวรรค เมื่อร้องได้
          แล้วให้นักเรียนร้องเพลงพร้อมกัน 1-2 ครั้ง
4.4.4  ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ ละ 4 คน แล้วให้แต่ละกลุ่มออกมาร้องและทำท่าทาง
          ประกอบเพลงดอกไม้สดสี ให้ครูและเพื่อนดู โดยให้แต่ละกลุ่มผลัดเปลี่ยนกันออกมาจน
          ครบทุกกลุ่ม
4.4.5  จากนั้นทำความสะอาดร่างกายแล้วกลับเข้าห้องเรียน  

        
     4.5       กิจกรรมเกมการศึกษา  (20 นาที)
4.5.1   เด็กและครู สนทนา ร่วมกันเกี่ยวกับเกมจับคู่ภาพกับภาพที่ตรงข้ามกัน โดยครูอธิบายวิธี
           การเล่นให้เด็กฟัง
4.5.2   แบ่งเด็กเป็นกลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มเล่นเกมชุดใหม่ เกมที่เคยเล่นมาแล้ว หรือเครื่องเล่น
           สัมผัส
4.5.3   เมื่อเด็กเลิกเล่นแล้ว ครูแนะนำให้ช่วยกันเก็บสิ่งของต่าง ๆ เข้าที่ให้เรียบร้อย

5.  สื่อการเรียน / แหล่งการเรียนรู้
5.1      สีเทียน
5.2      คำคล้องจอง
5.3      เกมจับคู่ภาพกับภาพที่ตรงกันข้ามกัน
6.  การวัดผลและประเมินผล
6.1       วิธีวัดผลและประเมินผล
6.1.1   สังเกตการปฏิบัติตามสัญญาณ และข้อตกลง
6.1.2   สังเกตการตอบคำถาม และการแสดงความคิดเห็น
6.1.3   ตรวจผลงานการวาดภาพ/ระบายสี
6.2       เครื่องมือวัดผล
6.2.1    แบบประเมินผลการจัดประสบการณ์
6.2.2    ผลงานเรียงลำดับภาพวงจรผีเสื้อ
6.3 เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
ระดับ                     3                              ดี
ระดับ                     2                              พอใช้
ระดับ                     1                              ปรับปรุง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น